------------คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์---------
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ทำให้วิทยาลัยครูมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทและโครงสร้างเข้าสู่ความเป็นอุดมศึกษาที่ระบุไว้ในมาตรา 5 คือ “ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ส่งเสริมวิทยฐานะของครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรรม และให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน” วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ได้ปรับโครงสร้างการบริหารและการจัดองค์กร เพื่อให้เกิดคณะวิชาในวิทยาลัยครูนครปฐม จำนวน 3 คณะวิชา ได้แก่ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ และคณะวิชาครุศาสตร์ โดยคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เกิดขึ้นจากการนำหมวดวิชาสังคมศึกษา หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศิลปศึกษา ดนตรี และนาฏศิลป์ รวมเป็นคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
จากปี พ.ศ. 2518 ถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 49 ปี ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนอยู่จำนวน 18 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่
1. ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
2. ครุศาสตรบัณฑิต (สังคมศึกษา)
3. ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
4. ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
5. ครุศาสตรบัณฑิต (ดนตรีศึกษา)
6. ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีน)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่
1. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
2. ศิลปศาสตรบัณฑิต (สารสนเทศดิจิทัลและบรรณารักษศาสตร์)
3. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทยเพื่ออาชีพ)
4. ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ)
5. ศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการการบริการ การท่องเที่ยวและสุขภาพนานาชาติ)
6. ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาชุมชน)
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบันฑิต (ศป.บ.) จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่
1. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ออกแบบนิเทศศิลป์)
2. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ออกแบบดิจิทัลอาร์ต)
3. ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลปและศิลปะการแสดง)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
1. รัฐศาสตรบัณฑิต
เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม
เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม เป็นวิทยาลัยครูนครปฐม (วันที่ 16 มกราคม 2513)
เริ่มดำเนินการและบริหารงานตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ทำให้วิทยาลัยครูมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทและโครงสร้างเข้าสู่ความเป็นอุดมศึกษามากขึ้น ส่งเสริมวิทยฐานะของครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน รวมทั้งปรับโครงสร้างการจัดองค์กรเพื่อให้เกิดคณะวิชาในวิทยาลัยครูนครปฐม จำนวน 3 คณะวิชา ได้แก่ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ และคณะวิชาครุศาสตร์
แต่งตั้งคณะผู้บริหารงานคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมี อาจารย์ณรงค์ เส็งประชา เป็นหัวหน้า และอาจารย์สุเวช ณ หนองคาย เป็นรองหัวหน้า
อาจารย์เจียม เคหะธูป ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ อาจารย์เฉิดฉิน สุกปลั่ง และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2527) ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์
อาจารย์สะอาด เลิศหิรัญ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
อาจารย์เจียม เคหะธูป ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏนครปฐม” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535
อาจารย์นพศร ณ นครพนม ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นอาจารย์สุเวช ณ หนองคาย
มีผลให้คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" และหัวหน้าคณะวิชากลายเป็น "คณบดี" โดยมี อาจารย์สุเวช ณ หนองคาย เป็นคณบดีคนแรก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราณี ภาสกรณ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ (ลาออกวันที่ 22 พฤษภาคม 2545) และผู้ช่วยศาสตราจารย์พนิดา เย็นสมุทร เข้าดำรงตำแหน่งแทน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษฎา ด่านประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา น้อยทิม ดำรงตำแหน่งคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษา น้อยทิม ดำรงตำแหน่งคณบดี
ดร.นิพล เชื้อเมืองพาน ดำรงตำแหน่งคณบดี
ดร.นิพล เชื้อเมืองพาน ดำรงตำแหน่งคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว ดำรงตำแหน่งคณบดี - ปัจจุบัน